หลักการทางวิทยาศาสตร์ : การหมุนของกังหันหมุนนั้นมีหลักการทางวิทยาศาสตร์ว่าหมุนได้เพราะมีทอร์กจากเชือกมากระทำกับแกนหมุน
เมื่อปล่อยเชือกจนหมด ความเฉื่อยเชิงมุมก็ทำให้แกนหมุนต่อไป
และเริ่มขดเชือกเข้าไปใหม่เพื่อพร้อมดึงเชือกอีกครั้ง
การนำไปประยุกต์ใช้ : การทำสว่านมือ
การนำไปประยุกต์ใช้ : การทำสว่านมือ
หลักการทางวิทยาศาสตร์ : การสร้างแรงอัดอากาศ
ในกระบอกไม้ไผ่ โดยเมื่อใส่กระดาษที่ชุบน้ำให้ชุ่มหรือลูกพลับพลาในกระบอกไม้ไผ่แล้วจะเกิดการสัมผัสกันระหว่างผิวของลูกกระสุน(กระดาษที่ชุบน้ำให้ชุ่มหรือลูกพลับพลา)กับภายในกระบอกไม้ไผ่
ยิ่งผิวสัมผัสระหว่างผิวทั้งสองแน่นมากเท่าไหร่ยิ่งสามารถกั้นอากาศได้ดี และเมื่อกระสุนลูกแรกที่บรรจุเข้าไปด้านหน้ากระบอกจะสามารถกั้นอากาศไว้
เมื่อบรรจุลูกที่สองตามหลังมาจะทำให้ปริมาตรพื้นภายในกระบอกไม้ไผ่ลดลงระหว่างลูกแรกแต่ปริมาณของลมในกระบอกไม้ไผ่ยังคงเท่าเดิม
และเมื่อถูกอัดด้วยลูกที่สองมาเรื่อยๆทำให้มีอากาศอัดแน่นมากขึ้นตามแรงดันของผู้เล่น
ยิ่งดันแรงยิ่งไปได้ไกล โดยแรงที่เหลือส่วนหนึ่งจะเปลี่ยนเป็นเสียง และความร้อน
การนำไปใช้ประโยชน์
: การนำไปออกแบบทำลูกสูบเครื่องยนต์
หลักการทางวิทยาศาสตร์ : โมเมนต์ความเฉื่อย คือเมื่อเราออกแรงหมุนแผ่นเหล็กกลมจะทำให้เชือกพันกันเป็นเกลียวหลายๆรอบและเมื่อดึงให้ตึง
ลูกหึ่งก็จะหมุนตามเกลียวที่ได้หมุนไว้ และเมื่อหมุนจนหมดเกลียวลูกหึ่ก็ยังหมุนต่อไปเพราะยังมีโมเมนต์ความเฉื่อย
เนื่องจากวัตถุจะพยายามรักษาสภาพเดิมของการหมุนเอาไว้ ดังนั้น เชือกจึงหมุนพันกลับมาเป็นเกลียวพร้อมที่จะดึงเชือกอีกครั้ง
No comments:
Post a Comment