Tuesday, April 26, 2016

จรวดขวดน้ำ028


จรวดขวดน้ำ





หลักการทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับจรวด
     
           การเคลื่อนที่ของจรวดพลังน้ำ สามารถอธิบายได้ด้วย กฏการเคลื่อนที่ข้อที่สามของนิวตั้น (Newton's Third Law of Motion) ซึ่งอธิบายไว้ว่า ในธรรมชาติเมื่อมีการกระทำ(หรือแรง)ใดๆ ต่อวัตถุอันหนึ่ง จะปรากฏแรงที่มีขนาดเท่ากันแต่มีทิศทางที่ตรงกันข้าม กระทำกลับต่อแรงนั้นๆ (For every action (force) in nature there is an equal and opposite reaction.) ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ให้เด็กคนหนึ่งยืนถือก้อนหินอยู่บนรถเข็นที่ล้อไม่มีความฝืด เมื่อให้เด็กทุ่มก้อนหินออกมา พบว่ารถเข็นจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ตรงข้ามกันกับทิศที่เด็กคนนั้นทุ่มก้อนหินออกมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมื่อเด็กออกแรงกระทำต่อก้อนหิน (โดยการทุ่มมันออกมา) ก้อนหินเองก็มีแรงกระทำตอบกลับไปยังเด็ก ซึ่งส่งผลให้รถเข็นที่จอดนิ่งอยู่เฉยๆ เคลื่อนที่ได้ จากกฏการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตั้น สามารถนำมาอธิบายถึงสาเหตุที่จรวดพลังน้ำสามารถขับเคลื่อนขึ้นไปได้ ด้วยแรงดันลมที่ถูกบรรจุอยู่ภายในขวด จะขับดันน้ำ พ่นออกทางท้ายของจรวด และส่งผลให้เกิดมีแรงในทิศตรงกันข้ามซึ่งถูกเรียกว่า แรงผลัก หรือ Thrusting Force ผลักดันให้จรวดเคลื่อนที่ไปทางด้านหน้าเช่นกัน นอกจาก thrust แล้ว ยังมีแรงอื่นๆ ที่มีส่วนสำคัญในการเคลื่อนที่ไป หรือต่อต้านการเคลื่อนที่ของจรวดอีก ซึ่งได้แก่ น้ำหนัก (Weight), แรงต้าน (Drag ), และ แรงยก (Lift ) น้ำหนัก (Weight) คือแรงเนื่องจากสนามความโน้มถ่วงของโลกที่กระทำต่อวัตถุ โดยทั่วไปในาการศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ เราจะพิจารณาถึง น้ำหนักรวมของวัตถุ (Total weight) ซึ่งเป็นแรงจากสนามความโน้มถ่วงที่กระทำ ณ ตำแหน่ง จุดศูนย์กลางมวล (Center of Gravity) แรงต้าน (Drag) คือ แรงที่ขัดขวางการเคลื่อนที่ของวัตถุ ผ่านในตัวกลางที่เป็นของเหลว (รวมถึงอากาศ) มีทิศในทางตรงกันข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ แรงต้านนี้เกิดเนื่องจากความแตกต่างของความเร็วที่ผิวสัมผัสของของแข็ง ในระหว่างที่มันเคลื่อนตัวผ่านไปในของเหลว ดังนั้นทุกๆส่วนของวัตถุจึงมีผลในการก่อให้เกิดแรงด้านนี้ ดังนั้นในการออกแบบจรวด หรืออากาศยานใดๆ จำเป็นต้องพิจารณาถึงรูปร่างของวัตถุนั้นด้วย แรงยก (Lift) เป็นแรงที่ทำหน้าที่พยุงอากาศยานให้ลอยได้ในอากาศ แรงยกโดยทั่วไปจะเกิดที่ส่วนของปีก และแพนหาง ที่มีการเคลื่อนที่ และรบกวนในการไหลของอากาศ ให้มีการเบี่ยงเบนทิศทาง ดังนั้นถ้าไม่มีการเคลื่อนที่ก็ไม่เกิดแรงยกขึ้น

การยิง....ปั๊มๆ
       อากาศจะถูกอัดเข้าไปในจรวด โดยใช้สูบจักรยาน (หรือ อุปกรณ์อื่นๆ) สูบบางรุ่น จะมี มาตรวัดความดัน ทำให้ทราบถึงความดันภายในจรวด (โดยประมาณ) เพิ่มความปลอดภัยในการเล่นได้อีกระดับหนึ่ง ผู้เล่นควรระมัดระวังเรื่องแรงดันอากาศ เนื่องจากอาจเกิดการระเบิดขึ้นได้ ในกรณีที่แรงดันในขวดสูงเกินกว่าที่ขวดจะรับได้ ทางป้องกันอย่างหนึ่ง คือการใช้สายอัดอากาศที่ยาวพอประมาณ เพื่อเพิ่มระยะระหว่างผู้สูบ กับจรวด
เมื่อมีการปล่อยน้ำในขวด จะถูกแรงดันอากาศ ขับออกมาทางปากขวดอย่างรวดเร็ว ทำให้จรวดพุ่งไปในทิศทางตรงข้าม การใส่น้ำในขวดมาก จะทำให้จรวดมีน้ำหนักมาก แต่ก็จะทำให้จรวดมีแรงขับดันมากขึ้นด้วย (เนื่องจากจรวด จะมีการปล่อยมวลออกมาได้มาก) การเคลื่อนที่ของจรวดจากฐานยิง จะเป็นไปอย่างช้าๆ ในทางตรงกันข้าม การใส่น้ำในขวดในปริมาณน้อย จะทำให้จรวดมีน้ำหนักน้อย แต่มวลของน้ำที่น้อย จะให้แรงขับดันได้น้อย เมื่อถูกปล่อยจากฐาน จรวดจะวิ่งออกจากฐานอย่างรวดเร็ว



การประดิษฐ์ จรวดขวดน้ำ

           การเตรียมขวด จรวดขวดน้ำ
                          ขวดที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นขวดน้ำอัดลม เล็กหรือใหญ่ก็ได้  เลือกแบบตามชอบ แต่ดูเหมือนขวดแฟนต้า                        จะมีรูปร่างคล้ายจรวดมากกว่าใคร 

           การเป่าขวด จรวดขวดน้ำ      
                          
ส่วนใหญ่จะเป่าที่ก้นขวด เพื่อให้มีปริมาตรมากขึ้น และมีรูปทรงตามต้องการ 

           ปากขวดของ จรวดขวดน้ำ                          โดยทั่วไปจะคงไว้ตามเดิม แต่กรณีที่มีปัญหา เช่น ใส่ขวดไม่เข้าเพราะปาก จรวดขวดน้ำ เล็กไปหน่อย                        หรือโอริงโตกว่านิดหน่อย การแก้ไขในกรณีนี้ เราก็ขยายปากขวด จรวดขวดน้ำ ให้กว้างขึ้นนิดหน่อย ก็เป็นอัน                        เรียบร้อย 

           หัวจรวดของ จรวดขวดน้ำ                           หัวจรวดของ จรวดขวดน้ำ เราทำได้หลายแบบ หัวทู่ หัวกลม หัวแหลม ก็ว่ากันไป ขึ้นอยู่กับการ                                ทดลองว่าแบบไหนจะเห็นผลมากกว่ากัน แบบนี้ต้องทดลอง

           หางจรวดของ จรวดขวดน้ำ     
                          
บางทีเรียกปีก ฝรั่งเรียก ฟิน รูปแบบที่ใช้ก็มีหลากหลายรูปแบบ ในทางการหน่อย ถ้ามีพื้นที่มากจะมี                          แรงต้านมากตามไปด้วยต้องทดลอง และวิเคราะห์ดูว่าขนาดและแบบไหนจะดีที่สุด

           ลำตัวของ  จรวดขวดน้ำ                           ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงก็ใช้ขนาดที่มากับขวด แต่อยากแต่งซิ่งก็ต้องเป่ากันหน่อย 

           การต่อขวด จรวดขวดน้ำ
      
                         นำขวดมา 2 ใบ ทำให้ใบหนึ่งใหญ่กว่าอีกใบหนึ่งเล็กน้อย พยายามที่จะให้อีกใบหนึ่งสวมเข้าไปได้ ตรง                        รอยต่อให้ขัดกระดาษทราย เพื่อจะได้ติดแน่นเวลาใส่กาว 




รินน้ำด้วยเชือก 028


รินน้ำด้วยเชือก



หลักการรินน้ำด้วยเชือกโดยน้ำไม่หยดลงบนโต๊ะ

   การที่น้ำไม่หยดลงบนโต๊ะนั้นเกิดจากแรงที่กระทำด้วยกันสองแรงดังนี้

       1 แรงที่เกิดจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างน้ำกับเส้นเชือก
       2 แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของน้ำที่มีต่อกัน

อุปกรณ์การทดลอง

       1 ขวดใส่น้ำ
       2 เส้นเชือก(ที่ผลิตจากเส้นได้)
       3  ขวดเปล่า 1 ขวด

วิธีการทดลอง

       1 ใส่น้ำในขวด
       2 นำเส้นเชือกใส่ลงในขวดที่มีน้ำ
       3 รินน้ำในขวดจากขวดที่มีน้ำลงสู่ขวดเปล่าโดยผ่านเส้นเชือก


บูมเมอแรง 028


หลักการบูมเมอแรง

หลักการ

       บูมเมอแรงเป็นหลักเดียวกับที่ทำให้เครื่องบินบินได้ คือ ด้านบนปีกทั้งสองข้างหนา ส่วนด้านล่างแบนราบ  อากาศที่ผ่านตรงส่วนที่หนาจะเดินทางได้ไกลและเร็วกว่า ความกดอากาศจึงน้อยกว่าด้านล่างซึ่งบางกว่า  ดังนั้นความกดที่สูงกว่าจึงยกบูมเมอแรงให้ลอย ส่วนการหมุนกลับมายังผู้ขว้างนั้น  อยู่ที่เทคนิคในขณะขว้าง  ผู้ขว้างจะต้องบิดข้อมือให้ได้จังหวะเพื่อให้บูมเมอแรงหมุนติ้ว แล้ววกกลับมายังที่เดิมคนที่ขว้างบูมเมอแรงเก่ง ๆ สามารถขว้างให้มันหมุนติ้วตีวงถึงสี่ห้าวงกลางอากาศ ก่อนจะวกกลับมาสู่มือเจ้าของอีกครั้ง

วัสดุ-อุปกรณ์

      1. กระดาษกล่องใส่ของ
      2. กรรไกร
      3. ไม้บรรทัด
      4. ดินสอ
      5. สก็อตเทปผ้า

วิธีการทำ

     1. วัดกระดาษขนาดกว้าง 4.5 cm ยาว 20.5 cm
     2. ตัดตามที่วัดไว้
     3. นำสก็อตเทปผ้ามาพันที่ตรงกลางเพื่อให้กระดาษติดกันและมีความหนาต่างกัน
     4. นำไปร่อนได้

วิธีการปาบูมเมอแรง

      1.จับตรงปลายบูมเมอแรงให้มากที่สุดเพื่อให้น้ำหนักของบูมเมอแรงไปข้างหลัง
      2.ให้ยกขึ้นเหนือไหล่ ให้ตัวบูมเมอแรงอยู่ในแนวตั้ง อย่าออกด้านข้างของตัวเรา เพราะจะทำให้บูมเมอแรงอยู่ในแนวนอน                ตามหลักการบูมเมอแรงคือเมื่อปาไปแล้ว มันจะสร้างแรงยกในด้านข้างเพื่อให้มีแรงส่ง วนกลับมาหาเรา
      3.ปาไปข้างหน้าโดยโดยให้พุ่งขึ้นทำมุมกับแนวระดับ 5 องศาและสบัดข้อมือเล็กน้อยเพื่อให้มันหมุน มันจะกลับมาอย่าง                  สวยงามหากเราปาให้มันหมุนรอบจัด ถ้าเราปาไม่หมุนมันจะไม่วนกลับมา เพราะการหมุนมันจะสร้างแรงยก
      4.เวลาเราจะต้องดูทิศทางลม เราต้องปาสวนลม แต่หากไม่มีลมเลยจะดีมากปาทางไหนก็ได้


Cartesian Dive 028

 นักประดาน้ำในขวด  Cartesian Dive



 อุปกรณ์

1 ฝาปากกา  2 ดินน้ำมัน  3 ขวดพลาสติกใสพร้อมฝาปิด 

วิธีการทดลอง
   1. เตรียมฝาปากกา1อัน 
   2.นำดินน้ำมันมาถ่วงไว้ที่ปลายของก้านฝาปากกา(หากด้านบนของฝาปากกามีรูรั่วก็ให้         ปิดรูรั่วด้วยดินน้ำมัน) 
   3.ในการถ่วงด้วยดินน้ำมัน(เพิ่มหรือลดดินน้ำมันให้หลอดลอยปริ่มน้ำ เอาฝาปากกาใส่           ขวดน้ำและปิดฝาให้แน่น 
   4.ค่อยๆบีบและค่อยๆปล่อยสังเกตฝาปากกาที่อยู่ในขวด
     ผลการทดลอง เมื่อบีบขวดจะทำให้นักดำน้ำจมลง และเมื่อปล่อยมือจะทำให้นักดำน้ำ        ลอยขึ้น 

หลักการ

    เมื่อเราบีบขวดพลาสติกน้ำจะถูกดันเข้าไปอัดอากาศที่อยู่ในปลอกปากกา ทำให้นักดำน้ำมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ ดังนั้นนักดำน้ำจึงจม เมื่อปล่อยมือ ขวดพลาสติกจะขยายตัวออก อากาศที่อยู่ในหลอดจะขยายตัวทำให้นักดำน้ำมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ ดังองนั้นมันจะลอยขึ้นสู่ผิวน้ำอีกครั้งหนึ่ง การนำไปใช้ การทดลองดังกล่าวใช้หลักการเช่นเดียวกับการสร้างเรือดำน้ำ

วิธีเล่น
    บีบตรงบริเวณตรงกลางขวดแล้วจะเห็นนักประดาน้ำดำน้ำลงมาก้นขวด และถ้าต้องการให้นักประดาน้ำขึ้นบนผิวน้ำให้คลายมือออก

Saturday, April 23, 2016

จรวดขวดน้ำ 003

 การพุ่งขึ้นของจรวดขวดน้ำอาศัยกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ข้อที่3 ที่กล่าวไว้ว่า “ แรงกริยาเท่ากับแรงปฏิกิริยา แต่มีทิศทางตรงกันข้าม “

                เมื่อเราเติมน้ำ และอัดอากาศเข้าไปในขวด  อากาศที่ถูกอัดอยู่ภายในจรวดขวดน้ำ จะทำหน้าที่เหมือนเป็นสปริงที่จะดันให้จรวดลอยสูงขึ้นไป และดันน้ำให้พุ่งออกทางปากขวด  การที่เราเติมน้ำลงไปในจรวดขวดน้ำทั้งๆที่ดูเหมือนว่าเราอาศัยเพียงแรงผลักของอากาศทำให้จรวดขวดน้ำพุ่งขึ้นไปได้ เป็นเพราะในขณะที่อากาศผลักให้จรวดขวดน้ำพุ่งขึ้นไป จรวดขวดน้ำก็จะผลักให้อากาศพุ่งถอยหลังไปเช่นกัน (ตามกฎข้อที่ 3 ของนิวตัน)แต่มวลของจรวดมีมากกว่ามวลของอากาศมาก ทำให้อากาศมีความเร่งมากกว่าความเร่งมากกว่าจรวดมาก (พิจารณาตามกฎข้อที่ 2 ของนิวตัน) ทำให้อากาศพุ่งออกไปจากจรวดขวดน้ำหมดก่อนที่จรวดขวดน้ำจะพุ่งขึ้นไปได้สูง น้ำที่เราเติมลงไปนั้น จะช่วยชะลอเวลาที่อากาศใช้ในการพุ่งออกจากจรวดขวดน้ำ เพราะจรวดขวดน้ำต้องผลักให้น้ำภายในจรวดขวดน้ำพุ่งออกไปด้วย ทำให้ความเร็วของจรวดสูงกว่าตอนที่ไม่ได้เติมน้ำลงไปในจรวดขวดน้ำนี้

                แต่ปริมาณน้ำที่เพิ่มมากขึ้นก็จะทำให้แรงผลักของอากาศลดลง และความดันภายในจรวดก็จะลดลงรวดเร็วมากขึ้น ดังนั้น เราต้องมีอัตราส่วนของการเติมน้ำอย่างเหมาะสม เพื่อทำให้จรวดขวดน้ำพุ่งออกไปได้ไกลที่สุด

นักประดาน้ำ 003

เมื่อบีบขวดทำให้ปริมาตรของขวดลดลง น้ำในขวดมีแรงดันมากขึ้น และดันน้ำเข้าไปในปลอกปากกา ทำให้มีน้ำหนักมากขึ้นจึงจม เมื่อคลายมือออก ปริมาตรขวดจะเพิ่มขึ้นกว่าเดิม แรงดันน้ำจะลดลง น้ำที่อยู่ในปลอกปากกา จะถูกอากาศภายในดันออก ทำให้ปลอกปากกาเบาจึงลอยขึ้น การขึ้นสู่ผิวน้ำและดำลงใต้ผิวน้ำของเรือดำน้ำมีหลักการเช่นเดียวกัน โดยเรือดำน้ำจะมีถังพิเศษซึ่งภายในมีอากาศบรรจุอยู่ เมื่อเรือดำน้ำจะดำลง ใต้น้ำ น้ำจะเข้าไปแทนที่อากาศในถัง ทำให้เรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เรือจึงจมลง ใต้น้ำ และในทางกลับกันเมื่อขึ้นสู่ผิวน้ำ อากาศจะถูกปั๊มเข้าไปในถังและ ไล่น้ำออกมา ทำให้เรือมีน้ำหนักน้อยลงจึงลอยขึ้น

มองกระจกแล้วเขียนตัวหนังสือ 003

เมื่อเขียนตัวหนังสือหน้ากระจก  ภาพที่เกิดขึ้นในกระจกเงาราบจะเป็นภาพเสมือนหัวตั้งอยู่หลังกระจก   มีระยะวัตถุเท่ากับระยะภาพ และขนาดของวัตถุเท่ากับขนาดของภาพ   แต่มีลักษณะกลับด้านกันจากซ้ายเป็นขวาของวัตถุจริง

รินน้ำด้วยเชือก 003

รินน้ำด้วยเชือก  เป็นวิธีการถ่ายเทของเหลวจากที่สูงลงไปสู่ที่ต่ำอย่างต่อเนื่องโดยผ่านตัวกลางคือท่อ หลอด หรือสาย โดยที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าช่วยแต่อย่างใด วิธีการทำโดยใช้หลอดหรือท่อน้ำมาเติมน้ำให้เต็มปิดปลายหลอดทั้งสองข้างเอาไว้ให้แน่นและนำปลายหลอดข้างใดข้างหนึ่งใส่ลงไปในภาชนะที่ต้องการที่จะถ่ายเทน้ำออก และปลายหลอดอีกข้างหนึ่งก็ใส่ไว้ในภาชนะที่รองรับและจะต้องต่ำกว่าภาชนะที่จะถ่ายน้ำออกเสมอ แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำและน้ำหนักของน้ำในหลอดจะดูดเอาน้ำจากปลายหลอดด้านที่สูงกว่าลงมาสู่ด้านที่ต่ำกว่าทำให้เราถ่ายน้ำออกจากภาชนะได้อย่างง่ายดาย ซึ้งภายในท่อหรือหลอดน้ำจะกระทำกันคล้ายสายโซ่ ที่เรียงร้อยไปด้วยน้ำ ซึ้งจะดึงโมเลกุลน้ำด้วยกันตามกันมาโดยอาศัยพันธะไฮโดรเจน นั้นเอง ทั้งนี้ได้มีการทดลองในระบบสุญญากาศโดยสูบอากาศออกทำให้พบว่า กาลักน้ำยังคงสามารถทำงานได้ดังเดิม แสดงว่า กาลักน้ำไม่ได้อาศัยแรงดันอากาศ แต่อาศัยแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลและน้ำหนักของของเหลวนั้นๆ

บูมเมอแรง 003

          บูมเมอแรง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท แบบแรกเป็นแบบวกกลับได้ ทำจากวัสดุเช่นไม้ หรือพลาสติก ที่น้ำหนักเบา มีปีก 2 ข้างโค้งงอเหมือนกล้วยหอม ส่วนแบบที่สองเป็นแบบวกกลับไม่ได้ มีขนาดใหญ่ ยาว และหนักกว่าแบบแรก โดยทั่วไปยาวประมาณ 1 เมตร หรือมากกว่าทำให้สามารถเคลื่อนที่ได้เป็นระยะไกล และเร็ว จึงใช้สำหรับล่าสัตว์ หรือต่อสู้ 
ขอบปีกคล้ายของใบพัดเฮลิคอปเตอร์
          ถ้าคุณขว้างบูมเมอแรงออกไปในแนวระดับ เหมือนกับการขว้างจานหมุนที่ภาษาฝรั่งเรียกว่า ฟริสบี (Frisbee) ดังรูป จะเกิดแรงขึ้นทางด้านล่างและยกฟริสบีให้ลอยสูงขึ้น ดังนั้นเพื่อให้เกิดแรงยกบูมเมอแรงต้องเคลื่อนที่และหมุน ถ้าหยุดหมุนมันจะไม่มีแรงยกและตกลงมาตามแรงโน้มถ่วง การขว้างในแนวระดับจึงวกกลับไม่ได้ ที่ถูก ต้องจับบูมเมอแรงในแนวดิ่ง จะทำให้มันหมุนโค้งจากขวาไปซ้าย เพราะมีแรงกระทำไปทางซ้าย ในหน้าถัดไปมาดูว่ามันจะวกกลับมาหาคุณได้อย่างไร
บูมเมอแรงแบบวกกลับได้แตกต่างจากแบบวกกลับไม่ได้ กล่าวคือแบบวกกลับได้สามารถเคลื่อนที่เป็นวงกลม และวกกลับมาที่จุดตั้งต้น จึงไม่เหมาะกับการล่าสัตว์ เพราะเมื่อขว้างไปโดนสัตว์แล้ว การควบคุมให้วิ่งกลับมาแทบเป็นไปไม่ได้
           บินได้อย่างไรให้คุณทดลองขว้างไม้ตรงยาว เมื่อหลุดจากมือ มันจะพุ่งตรงไปข้างหน้า ได้ระยะทางหนึ่ง จะถูกแรงดึงดูดของโลกทำให้ตกลงบนพื้น เพื่อให้ไม้สามารถลอยอยู่บนอากาศได้นานขึ้น แทนที่จะเป็นไม้ตรง เราก็ทำให้โค้งงอเหมือนกล้วยหอม 2 ข้างเรียกว่าปีก มีลักษณะโค้งเหมือนกับปีกเครื่องบิน คือด้านหนึ่งโค้ง แต่อีกด้านหนึ่งแบน ขณะที่ปีกวิ่ง อากาศจะวิ่งผ่านด้านโค้งเร็วกว่าด้านแบน ทำให้เกิดความแตกต่างของความดันอากาศ มีแรงกระทำกับปีก 

ผู้เชี่ยวชาญ 003

อยากเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนฟิสิกส์ค่ะ

Tuesday, April 19, 2016

หนังสือเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญ







บูมเมอแรง



                            บูมเมอแรง


       บูมเมอแรง  แบ่งออกเป็น   ประเภท  แบบแรกเป็นแบบวกกลับได้   ทำจากวัสดุเช่นไม้ หรือพลาสติก  ที่น้ำหนักเบา  มีปีก  ข้างโค้งงอเหมือนกล้วยหอม    ส่วนแบบที่สองเป็นแบบวกกลับไม่ได้  มีขนาดใหญ่ ยาว และหนักกว่าแบบแรก  โดยทั่วไปยาวประมาณ   เมตร  หรือมากกว่าทำให้สามารถเคลื่อนที่ได้เป็นระยะไกล  และเร็ว  จึงใช้สำหรับล่าสัตว์ หรือต่อสู้ 
      บูมเมอแรงแบบวกกลับได้แตกต่างจากแบบวกกลับไม่ได้ กล่าวคือแบบวกกลับได้สามารถเคลื่อนที่เป็นวงกลม  และวกกลับมาที่จุดตั้งต้น  จึงไม่เหมาะกับการล่าสัตว์  เพราะเมื่อขว้างไปโดนสัตว์แล้ว  การควบคุมให้วิ่งกลับมาแทบเป็นไปไม่ได้
      ขว้างไม้ตรงยาว เมื่อหลุดจากมือ มันจะพุ่งตรงไปข้างหน้า ได้ระยะทางหนึ่ง  จะถูกแรงดึงดูดของโลกทำให้ตกลงบนพื้น  เพื่อให้ไม้สามารถลอยอยู่บนอากาศได้นานขึ้น   แทนที่จะเป็นไม้ตรง  เราก็ทำให้โค้งงอเหมือนกล้วยหอม  2 ข้างเรียกว่าปีก มีลักษณะโค้งเหมือนกับปีกเครื่องบิน  คือด้านหนึ่งโค้ง  แต่อีกด้านหนึ่งแบน   ขณะที่ปีกวิ่ง อากาศจะวิ่งผ่านด้านโค้งเร็วกว่าด้านแบน  ทำให้เกิดความแตกต่างของความดันอากาศ  มีแรงกระทำกับปีกขอบของปีก (leading  edged)  มีลักษณะคล้ายใบพัดของเฮลิคอปเตอร์  ซึ่งสามารถสร้างแรงยกขึ้นเมื่อวิ่งตัดผ่านกระแสอากาศ  เมื่อบูมเมอแรงถูกขว้างออกไป   มันจะหมุนไปข้างหน้า   ความเร็วของปีกบนและปีกล่างเท่ากัน  อย่างไรก็ตามเมื่อบวกความเร็วที่พุ่งไปข้างหน้า  ความเร็วสัมพัทธ์ของปีกบนจะมากกว่าความเร็วสัมพัทธ์ของปีกล่าง   ดังนั้นอากาศจะไหลผ่านปีกบนมากกว่าปีกล่าง เกิดแรงยกบนปีกด้านล่างทำให้บูมเมอแรงยกตัวลอยขึ้น
มีแรงกระทำอยู่หลายแรงที่กระทำกับบูมเมอแรงขณะกำลังหมุน  ดังนี้
  • แรงโน้มถ่วงของโลก
  • แรงกระทำบนปีก
  • แรงจากการขว้าง
  • แรงที่เกิดจากความแตกต่างของความเร็ว
  • แรงจากลม
       เพื่อให้บูมเมอแรงที่ขว้างออกไป  สามารถวกกลับมายังผู้ขว้างได้ แรงทั้งหมดต้องกระทำอยู่บนตัวบูมเมอแรงอย่างพอดีและได้สมดุล 









กิจกรรมวันนี้

1. การทดลองควบคุม เครื่องโดรน
    อธิบายหลักการทำงานของ โดรน  โดยเฉพาะการใช้ไจโรสโคปในการทำให้ โดรนเสถียรได้ทุกสภาวะ
    ใช้ความรู้ทางฟิสิกส์และวิศวกรรมอธิบายการทำงาน
2. การทดลองจรวจขวดน้ำ  หาตัวแปรให้ได้ว่าจรวจจะเร็ว สูงขึ้น ไปได้ไกล อยู่กับตัวแปรใด
   ใช้ความรู้ทางฟิสิกส์อธิบายการทำงานให้ละเอียด

3. โครงงาน
   1.  ชื่อโครงงาน    ใครทำ  
   2.  ใช้วัสถุอุปกรณ์อะไรในการสร้างของเล่นนี้
   3.  มีวิธีขั้นตอนอย่างไรในการสร้าง
   4. อธิบายหลักการทำงาน และวิธีการเล่น ใช้ฟิสิกส์อธิบายในส่วนใด
   5 สรุป และแนวทางในการปรับปรุงขยายผล

4. งานค้าง    ร่มพยุงไข่   มูเมอแรงค์   ของเล่นที่ใช้ยางหนังสติกเป็นตัวจ่ายพลังงาน การสร้างควันไฟ  ของเล่นจากลูกโป่ง

พับรูปทรงสามมิติ





                        การพับรูปทรงสามมิติ 8 เหลี่ยม





พับรูปทรง 3มิติ

 

รูปทรงลูกบาศก์

กระดาษพับ

                              1.เห็ด

2.ยีราฟ

3.หน้าสุนัข


Wednesday, April 6, 2016

พับกระดาษพื้นฐาน



พับกระดาษพื้นฐาน 

                                                                                                                                                       

รูปที่ 1 :  รูปหน้ากระต่าย





รูปที่ 2 :  รูปนก






รูปที่ 3 :  รูปแจกัน +  ดอกทิวลิป

Tuesday, April 5, 2016

ยกเหรียญด้วยหลอดดูด


ยกเหรียญด้วยหลอดดูด


หลักการทางวิทยาศาสตร์
        
            เมื่อเราดูดเหรียญด้วยหลอดดูดอากาศภายในหลอดจะถูกดูดออกมา และเมื่อเหรียญกับหลอดดูดเริ่มชิดกันสนิทจะ ทำให้อากาศภายนอกเข้าไปในหลอดไม่ได้  จึงทำให้อากาศภายในหลอดมีแรงดันไม่มากพอที่จะผลักเหรียญให้หลุดได้ แต่จะไปกดดันหลอดจนหลอดมีลักษณะบู้บี้  และแรงดันของอากาศภายนอกซึ่งมีแรงดันที่มากกว่าภายในหลอดดูดจึงดันให้เหรียญติดกับหลอดดูดขึ้นมา


Cartesian Diver


Cartesian Diver


หลักการทางวิทยาศาสตร์

         วัตถุจะลอยหรือจม คือ วัตถุที่มีความหนาแน่น(ความหนาแน่นคือมวลรวมของวัตถุหารด้วยปริมาตรของวัตถุ)น้อยกว่าน้ำจะลอยน้ำส่วนวัตถุที่มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำจะจมน้ำ แล้วการที่นักดำน้ำคาร์ทีเซียน(Cartesian Diver) มีความหนาแน่นเปลี่ยนไปมาสามารถอธิบายการใช้สมบัติของอากาศที่เมื่อโดนอัดแล้วจะมีปริมาตรลดลงและใช้หลักการของพาสคาล(Pascal’s Principle)ที่ว่าหากเราออกแรงดันกับของเหลวที่บริเวณใดๆแล้วความดันที่เกิดขึ้นจะส่งผ่านไปทั่วทั้งของเหลวอย่างเท่าๆกันเพราะฉะนั้นเมื่อเราบีบข้างขวดน้ำ ความดันที่เกิดขึ้นจะส่งผ่านไปทั่วแล้วจะไปดันอากาศที่อยู่ในนักดำน้ำของเรา ให้มีปริตรมาตรลดลงทำให้ความหนาแน่นของนักดำน้ำเพิ่มขึ้นจนมากกว่าน้ำ   นักดำน้ำคาร์ทีเซียน(Cartesian Diver)จึงจมลงในทางกลับกันหากเราปล่อยมือ อากาศในนักดำน้ำคาร์ทีเซียน(Cartesian Diver)ก็จะขยายตัวกลับดังเดิมนักดำน้ำคาร์ทีเซียน(Cartesian Diver)ก็จะลอยขึ้น

มองกระจกแล้วเขียนตัวหนังสือ

ทำไม

           การที่เราเขียนตัวหนังสือมันกลับหน้าเป็นหลัง เหมือนกับเราอ่านตัวหนังสือจากด้านหลังของมัน

เป็นเพราะภาพสะท้อนจากกระจกนั้นมันสะท้อน3มิติ โดยที่ 2มิติ คือ มิติบน-ล่างกับ มิติซ้าย-ขวา สะท้อนภาพในทิศทางเดียวกับวัตถุ แต่มิติหน้าหลังสะท้อนภาพกลับทิศกับวัตถุ คือ เงาในกระจกหันหน้าไปทางตรงข้ามกับวัตถุจริง

 

มองในกระจกแล้วเขียนตัวหนังสือ


มองในกระจกแล้วเขียนตัวหนังสือ




หลักการทางวิทยาศาสตร์
การที่เรามองในกระจกเงาระนาบหรือกระจกเงาราบแล้วเขียนตัวหนังสือหลังจากเขียนเสร็จแล้วนำมาดูพบว่าตัวอักษรกลับจากขวาไปซ้าย เนื่องจากว่า กระจกเงาชนิดนี้มีด้านหลังฉาบด้วยเงินหรือปรอทภาพที่เกิดเป็นภาพเสมือน หัวตั้ง อยู่หลังกระจก มีระยะภาพเท่ากับระยะวัตถุ และขนาดภาพเท่ากับขนาดวัตถุ ภาพที่ได้จะกลับจากขวาเป็นซ้าย เรียกว่า ปรัศวภาควิโลม



            จากรูปจะอธิบายหลักการเรื่องการเดินทางของแสงเพื่อหาตำแหน่งภาพที่เกิดจากกระจกเงาระนาบ 1 บาน ได้ดังนี้
            ลากเส้นรังสีตกกระทบ 2 เส้น จากวัตถุ AB โดยเส้นหนึ่งลากตั้งฉากกับกระจก (a) เมื่อตกกระทบกระจก แสงจะสะท้อนกลับแนวเดิม (a¢) ส่วนรังสีอีกเส้นหนึ่งนั้นให้ลากเอียงทำมุมกับกระจกและตกกระทบกระจก (b) แล้วสะท้อนออกมา (b¢) โดยมุมตกกระทบ (1) เท่ากับมุมสะท้อน (2) รังสีสะท้อนทั้งสองนี้ไปตัดกันที่ใด ตำแหน่งนั้นคือตำแหน่งภาพ (A¢B¢)



บูมเมอแรง

หลักการของบูมเมอแรง
 

                จะเกิดแรงขึ้นทางด้านล่างและยกฟริสบีให้ลอยสูงขึ้น ดังนั้นเพื่อให้เกิดแรงยกบูมเมอแรงต้องเคลื่อนที่และหมุน ถ้าหยุดหมุนมันจะไม่มีแรงยกและตกลงมาตามแรงโน้มถ่วง การขว้างในแนวระดับจึงวกกลับไม่ได้ ที่ถูก ต้องจับบูมเมอแรงในแนวดิ่ง จะทำให้มันหมุนโค้งจากขวาไปซ้าย เพราะมีแรงกระทำไปทางซ้าย
            เมื่อบูมเมอแรงถูกขว้างออกไป   มันจะหมุนไปข้างหน้า   ความเร็วของปีกบนและปีกล่างเท่ากัน  เมื่อบวกความเร็วที่พุ่งไปข้างหน้า  ความเร็วสัมพัทธ์ของปีกบนจะมากกว่าความเร็วสัมพัทธ์ของปีกล่าง   ดังนั้นอากาศจะไหลผ่านปีกบนมากกว่าปีกล่าง เกิดแรงยกบนปีกด้านล่างทำให้บูมเมอแรงยกตัวลอยขึ้น

           ส่วนที่ทำไมมันถึงวกกลับได้ นั้นมันเกี่ยวกับทฤษฎีทางกลศาสตร์ของไหล  ซึ่งเป็นเหตุการณ์เดียวกับ เวลาที่ขี่จักรยานโดยไม่จับแฮนด์  เมื่อต้องการเลี้ยว ให้บิดตัวไปอีกด้านหนึ่ง  เท่ากับเราออกแรงกระทำกับขอบล้อด้านบน   ทำให้เกิดแรงกระทำกับล้อเมื่อหมุนไป 90 องศา ล้อจะบิดไปทางขวาหรือไม่ก็ทางซ้าย

รินน้ำด้วยเชือก

รินน้ำด้วยเชือก


หลักการทางวิทยาศาสตร์

           เป็นวิธีการถ่ายเทของเหลวจากที่สูงลงไปสู่ที่ต่ำอย่างต่อเนื่องโดยผ่านตัวกลางคือ เชือก โดยที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าช่วยแต่อย่างใด วิธีการทำโดยใช้เชือกมาเติมน้ำให้เต็ม นำปลายเชือกข้างใดข้างหนึ่งใส่ลงไปในภาชนะที่ต้องการที่จะถ่ายเทน้ำออก และปลายเชือกอีกข้างหนึ่งก็ใส่ไว้ในภาชนะที่รองรับและจะต้องต่ำกว่าภาชนะที่จะถ่ายน้ำออกเสมอ แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำและน้ำหนักของน้ำที่เชือกจะดูดเอาน้ำจากปลายเชือกด้านที่สูงกว่าลงมาสู่ด้านที่ต่ำกว่าทำให้เราถ่ายน้ำออกจากภาชนะได้อย่างง่ายดาย ซึ้งที่เส้นเชือกน้ำจะกระทำกันคล้ายสายโซ่ ที่เรียงร้อยไปด้วยน้ำ ซึ้งจะดึงโมเลกุลน้ำด้วยกันตามกันมาโดยอาศัยพันธะไฮโดรเจน  และการรินน้ำด้วยเชือกจะไม่ได้อาศัยแรงดันอากาศ แต่อาศัยแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลและน้ำหนักของของเหลวนั้นๆ

มองกระจกแล้วเขียนหนังสือ




มองกระจกแล้วเขียนหนังสือ






                   เป็นภาพภาพสะท้อนจากกระจกนั้นมันสะท้อน3มิติโดยที่2มิติ คือ มิติบน-ล่างกับ มิติซ้าย-ขวา สะท้อนภาพในทิศทางเดียวกับวัตถุแต่มิติหน้าหลังสะท้อนภาพกลับทิศกับวัตถุคือ เงาในกระจกหันหน้าไปทางตรงข้ามกับวัตถุจริงนั่นคือแทนที่เงาของเราในกระจกจะหันหน้าไปทางเดียวกันกับเรา(ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นเราต้องเห็นท้ายทอยตัวเองในกระจกแทนที่จะเห็นหน้า)แต่มันหันกลับทิศกับเราเป็นตรงข้าม180องศาเงาของเราในกระจกจึงหันหน้าเข้าหาเรา
                                                                                                                                   

Dunking Diver


Dunking Diver



        เมื่อเราออกแรงบีบขวดน้ำ จะทำให้เรือดำน้ำดำลง เนื่องจากแรงดันจะส่งผ่านไปทั่วทุกส่วนในขวด ตามกฎของพาสคัล ทำให้อากาศภายในหลอดมีปริมาณลดลงส่งผลให้มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น ตามหลักการวิทยาศาสตร์แล้ว วัตถุที่มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำจะจมน้ำ แต่เมื่อเราหยุดบีบความดันก็จะลดลง ทำให้อากาศภายในหลอดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความหนาแน่นของเรือดำน้ำลดลง ทำให้เรือดำน้ำลอยขึ้นมา

รินน้ำด้วยเชือก



                                                         

                                              รินน้ำด้วยเชือกหรือกาลักน้ำ


                 หลักการของรินน้ำด้วยเชือกหรือกาลักน้ำ เกิดจาก แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของของเหลว ( intermolecular force )    ดูดกันลงมาด้วยน้ำหนัก ของของเหลวภายในเชือก ( ของเหลวในการทดลองนี้ คือ น้ำ ) เมื่อของเหลวที่ปลายด้านหนึ่งไหลต่ำลงมาก็จะเกิดแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของของเหลว ทำให้ของเหลวจากปลายเชือกด้านที่สูงกว่าไหลตามกันลงมาที่ต่ำเพราะว่ามีแรงโน้มถ่วง


บูมเมอแรง

บูมเมอแรง





หลักการทางวิทยาศาสตร์
            อธิบายว่า บูมเมอแรงแล้วกลับมาเพราะบูมเมอแรงใช้หลักการเดียวกับปีกเครื่องบิน โดยปีกเครื่องบินนั้นมี 2 ด้านที่นูนและเรียบต่างกัน เมื่ออากาศเคลื่อนที่ผ่านด้านบนที่นูน โมเลกุลอากาศจะเคลื่อนที่เร็วกว่าปีกด้านล่างที่เรียบ ทำให้ด้านบนมีความหนาแน่นและความดันน้อยกว่าด้านล่างที่มีความเร็วน้อยกว่า และมีความหนาแน่นกับความดันของอากาศมากกว่า จึงเกิดแรงพยุงปีกให้ยกตัวขึ้น

             ส่วนอีกคำตอบอธิบายว่าการกลับมาของบูเมอแรงนั้นอาศัยการทำงานร่วมกันของหลักอากาศพลศาสตร์และปรากฏการณ์รักษาการทรงตัว (gyroscopic effect) โดยเมื่อบูเมอแรงหมุนปีกทั้งสองหรือมากกว่าที่ระนาบแนวตั้งเอียง 20 องศาจะหมุนควงอย่างรวดเร็ว ซึ่งทั่วๆ ไปประมาณ 10 รอบต่อวินาที ปีกด้านบนสุดจะไปในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่และหมุนผ่านอากาศเร็วกว่าปีกด้านล่าง ดังนั้น ปีกที่เคลื่อนที่เร็วสุดจะยกปีกที่เคลื่อนที่ช้ากว่าขึ้น แรงทั้งหมดจะพุ่งไปทิศทางหมุนกลับ

ว่าว

 
หลักการของว่าว
 
 
1. กระแสลมที่เคลื่อนที่ไปในแนวขนานกับผิวโลกทางใดทางหนึ่ง อย่างสม่ำเสมอ
2. พื้นที่ให้กำลังยกหรือแรงยกได้แก่พื้นที่ของตัวว่าว
3. อุปกรณ์บังคับ ได้แก่ เชือกหรือด้ายรั้งว่าว และสายซุง ซึ่งทำหน้าที่ปรับมุมปะทะของอากาศกับพื้นที่ของตัวว่าว ทำให้เกิดแรงยกและแรงดัน
ดังนั้น การเล่นว่าวต้องอาศัยลม ลมเป็นปัจจัยที่เราไม่อาจควบคุมได้ บางวันลมแรง บางวันลมอ่อน เราจะควบคุมได้ก็เพียงตัวว่าวของเราเอง เมื่อว่าวปะทะลม จะมีแรงมาเกี่ยวข้องด้วย คือ แรงจากน้ำหนักของว่าว แรงฉุดไปตามทิศทางของลม และแรงยกในทิศทางตรงข้ามของน้ำหนัก ผลรวมของแรงทั้งสาม เกิดเป็นแรงลัพท์ที่ทำให้ว่าวลอยขึ้นไปได้ และทิศทางของแรงลัพท์นี้ จะอยู่ในแนวเดียวกับแนวเชือกว่าวที่ต่อออกจากคอซุงพอดี
ในขณะที่ว่าวเคลื่อนที่สวนทางลม และตัวว่าวทำมุมเงย ทำให้เกิดมุมปะทะกับพื้นที่ตัวว่าว ทำให้อากาศด้านบน (หลังว่าว) ไหลเร็วกว่าด้านล่างว่าว ความกดดันอากาศจึงลดลง ทำให้เกิดแรงยกขึ้น ในขณะเดียวกัน ลมด้านล่าง (ใต้ว่าว) เคลื่อนที่ช้ากว่า ทำให้เกิดความกดดันสูง จึงพยายามปรับตัวให้มีความดันเท่ากับด้านบน จึงดันว่าวให้ลอยขึ้นด้านบน
ว่าวจะขึ้นได้จะต้องมีแรงถ่วง (น้ำหนักของว่าว) น้อยกว่าแรงยก และแรงขับ (ลม) ต้องมีความเร็วมากพอที่จะชนะแรงต้าน ซึ่งมีทิศทางเดียวกับกระแสลม