เมื่อเราดึงเชือกที่ยึดติดกับแกนกลางใบพัดจะทำให้ใบพัดหมุน
เมื่อปล่อยมือ ใบพัดจะหมุนต่อเนื่องเพราะความเฉื่อย เมื่อดึงแล้วผ่อนเป็นจังหวะ
ใบพัดจะเคลื่อนที่ต่อเนื่องตลอดเวลา เกิดจากโมเมนต์ความเฉื่อย นั่นก็คือ
การที่วัตถุรักษาสภาพการหมุนอย่างต่อเนื่อง หลักการของกำหมุนไม้ไผ่ใช้อธิบายการปั่นจักรยานแล้วปล่อยให้ล้อหมุนเอง
โดยไม่ต้องถีบ แต่จักรยานก็เคลื่อนที่ไปได้ในช่วงเวลาหนึ่งโดยไม่ต้องออกแรง

มีโมเมนต์ความเฉื่อย
เนื่องจากวัตถุจะพยายามรักษาสภาพเดิมของการหมุนเอาไว้ ดังนั้น
เชือกจึงหมุนพันกลับมาเป็นเกลียวพร้อมที่จะดึงเชือกอีกครั้ง
การหมุนของ
เมล็ดลูกยาง จะมีเสียงคราง “หวือ” ๆ ๆ ๆ ตามจังหวะกระตุกเชือก เสียง “หวือ” จะดังมาก – น้อย แค่ไหน
อยู่ที่ความเร็วในการหมุน + น้ำหนักของลูกยาง เราจึงเลือกเมล็ดโต ๆ มาทำกัน เพราะมีน้ำหนัก
หลักการของฉับโผง
คือจะสร้างแรงอัดอากาศ
เมื่อสัมผัสกับลูกกระสูน (พลับพลา)จะสามารถกั้นอากาศไว้ได้
เมื่อกระสูนลูกแรกที่บรรจุเข้าไปด้านหน้ากระบอกกั้นอากาศไว้
แล้วกระสูนลูกที่สองตามหลังระหว่างลูกแรกและลูกอัดตามหลังมีอากาศอัดแน่นตามแรงดันของผู้เล่น
ยิ่งดันแรง เสียงจะยิ่งดัง และไปได้ไกล หลักการนี้
จะเป็นหลักการเดียวกันกับปืนลูกซอง
No comments:
Post a Comment