Tuesday, March 29, 2016

ลอย จม

 
อุปกรณ์ที่ใช้ 1. ดินน้ำมัน 2. ฝาปิดปากกา 3. คลิปหนีบกระดาษ  4. คีมตัดลวด 5. แก้วน้ำ 6. ขวดปล๊าสติก
 
ขั้นตอนวิธีการ 1. ปลายฝาปากกายึดกับดินน้ำมันและยึดตะขอจากคลิปหนีบกระดาษ
                 2. นำไปลอยในแก้วน้ำให้เริ่มลอยได้พอดี
                3. เติมน้ำในขวดให้เกือบเต็ม  แล้วนำชุดฝาปิดปากกาตาม 2 ใส่ในขวด แล้วปิดโดยหมุนเกลียวฝาปิดให้แน่น
                4. ถ้าใช้มือบีบขวด ฝาปิดปากกาหรือตัวดำน้ำจะจมหรือดำน้ำลงไปก้นขวด เมื่อปล่อยมือไม่บีบ ตัวดำน้ำจะเคลื่อนขึ้นมาอีกครั้ง
เล่นเกม โดย ให้ดำน้ำไปเกี่ยวคริบหนีบกระดาษขึ้นมาให้ได้
ให้อธิยายการจมลอยของเรือดำน้ำ  โดยแต่ละคอนเขียนแสดงความคิดเห็นในบล็อกนี้


13 comments:

  1. การลอยจมขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของวัตถุที่ลอยจม

    ReplyDelete
  2. This comment has been removed by the author.

    ReplyDelete
    Replies
    1. การลอยตัว ของฝาปากกาขึ้นอยู่กับความหนาแน่นเมื่อวัตถุมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำวัตถุก็จะลอย แต่ถ้าวัตถุมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำวัตถุก็จะจม

      Delete
  3. การที่วัตถุสามารถลอยตัวอยู่ในน้ำได้ เนื่องจากวัตถุนั้นมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ และน้ำก็มีแรงดันวัตถุให้ลอยขึ้นมา ซึ่งจะเรียกว่า " แรงลอยตัว "

    ReplyDelete
  4. การที่วัตถุสามารถลอยตัวอยู่ในน้ำได้ เนื่องจากวัตถุนั้นมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ และน้ำก็มีแรงดันวัตถุให้ลอยขึ้นมา ซึ่งจะเรียกว่า " แรงลอยตัว "

    ReplyDelete
  5. การลอยการจมของวัตถุในน้ำจะขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของวัตถุและความหนาแน่นของน้ำ
    ซึ่งความหนาแน่นของน้ำก็คืออัตราส่วนของมวลต่อปริมาตร
    การลอยจมของวัตถุมี3กรณีดังนี้
    เมื่อวัตถุมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำวัตถุก็จะลอยเหนือผิวน้ำ
    เมื่อวัตถุมีความหนาแน่นเท่าๆกับน้ำวัตถุก็จะลอยปริ่มน้ำ
    และเมื่อวัตถุมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำวัตถุก็จะจมลงในน้ำ

    ReplyDelete
  6. การลอยการจมของวัตถุในน้ำจะขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของวัตถุและความหนาแน่นของน้ำ
    ซึ่งความหนาแน่นของน้ำก็คืออัตราส่วนของมวลต่อปริมาตร
    การลอยจมของวัตถุมี3กรณีดังนี้
    เมื่อวัตถุมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำวัตถุก็จะลอยเหนือผิวน้ำ
    เมื่อวัตถุมีความหนาแน่นเท่าๆกับน้ำวัตถุก็จะลอยปริ่มน้ำ
    และเมื่อวัตถุมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำวัตถุก็จะจมลงในน้ำ

    ReplyDelete
  7. การลอยหรือจม ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของวัตถุ หากวัตถุมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ วัตถุนั้นก็จะลอย แต่ถ้าวัตถุนั้นมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ วัตถุนั้นก็จะจม

    ReplyDelete
  8. การที่ฝาปิดปากกาลอยหรือจมน้ำได้นั้นขึ้นอยู่กับความหนาแน่นในฝาปิดปากเหมื่อเราบีบขวดน้ำก็จะทำให้เกิดความหนาแน่นกระจายไปทั่วทั้งขวดน้ำทำให้ฝาปิดปากที่ลอยอยู่ได้รับความหนาแน่นและมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำจึงทำให้ฝาปิดปากกาจมน้ำและเมื่อคลายมือออกความหนาแน่นในปากกาก็น้อยกว่าน้ำทำให้ฝาปิดปากกาลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำ

    ReplyDelete
  9. จมลอยขึ้นอยู่กับปริมาณความดันอากาศภายในขวด
    ฝาปากกาลอยได้เพราะมีอากาศถูกกักไว้ แรงลอยตัวเท่ากับน้ำหนักของน้ำที่ถูกอากาศ¬แทนที่ เมื่อเราบีบขวด ความดันภายในขวดเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาตรอากาศเล็กลง แรงลอยตัวจึงลดลงตามปริมาตรอากาศ ฝาปากกาจึงจม
    เมื่อเราคลายมือ ความดันอากาศภายในขวดก็จะลดลง ทำให้ปริมาตรอากาศเพิ่มขึ้น แรงลอยตัวก็เพิ่มขึ้นตามปริมาตรอากาศ ฝาปากกาจึงลอย

    ReplyDelete
  10. เมื่อเราออกแรงบีบขวดน้ำ จะทำให้เรือดำน้ำดำลง เนื่องจากแรงดันจะส่งผ่านไปทั่วทุกส่วนในขวด ตามกฎของพาสคัล ทำให้อากาศภายในหลอดมีปริมาณลดลงส่งผลให้มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น ตามหลักการวิทยาศาสตร์แล้ว วัตถุที่มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำจะจมน้ำ แต่เมื่อเราหยุดบีบความดันก็จะลดลง ทำให้อากาศภายในหลอดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความหนาแน่นของเรือดำน้ำลดลง ทำให้เรือดำน้ำลอยขึ้นมา

    ReplyDelete
  11. This comment has been removed by the author.

    ReplyDelete
  12. วัตถุจะลอยหรือจม คือ วัตถุที่มีความหนาแน่น(ความหนาแน่นคือมวลรวมของวัตถุหารด้วยปริมาตรของวัตถุ)น้อยกว่าน้ำจะลอยน้ำส่วนวัตถุที่มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำจะจมน้ำ แล้วการที่นักดำน้ำคาร์ทีเซียน(Cartesian Diver) มีความหนาแน่นเปลี่ยนไปมาสามารถอธิบายการใช้สมบัติของอากาศที่เมื่อโดนอัดแล้วจะมีปริมาตรลดลงและใช้หลักการของพาสคาล(Pascal’s Principle)ที่ว่าหากเราออกแรงดันกับของเหลวที่บริเวณใดๆแล้วความดันที่เกิดขึ้นจะส่งผ่านไปทั่วทั้งของเหลวอย่างเท่าๆกันเพราะฉะนั้นเมื่อเราบีบข้างขวดน้ำ ความดันที่เกิดขึ้นจะส่งผ่านไปทั่วแล้วจะไปดันอากาศที่อยู่ในนักดำน้ำของเรา ให้มีปริตรมาตรลดลงทำให้ความหนาแน่นของนักดำน้ำเพิ่มขึ้นจนมากกว่าน้ำ นักดำน้ำคาร์ทีเซียน(Cartesian Diver)จึงจมลงในทางกลับกันหากเราปล่อยมือ อากาศในนักดำน้ำคาร์ทีเซียน(Cartesian Diver)ก็จะขยายตัวกลับดังเดิมนักดำน้ำคาร์ทีเซียน(Cartesian Diver)ก็จะลอยขึ้น

    ReplyDelete