Friday, March 25, 2016

หลักการทางฟิสิกส์ของของเล่นพื้นบ้าน 022

1. จับโป้ง ภาษาอีสานจะเรียกว่า บั้งโผล๊ะ ---> การเล่นจับโป้ง(บั้งโผล๊ะ) ต้องเอากระดาษที่เปียกนำมาทำเป็นกระสุน เพื่อที่จะนำไปอัดใส่รูกระบอกไม่ไผ่ ซึ่งกระสุนที่ใส่จะต้องใหญ่กว่ารูของกระบอกไม้ไผ่ และจะใช้แกนไม้ส่วนที่เป็นด้ามดันหรือกระแทรกลูกกระสุนไปที่ปลายกระบอกจับโป้งอย่างแรงและรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้แรงอัดของอากาศจะระเบิดทำให้เกิดเสียงดัง ลูกปืนส่วนที่เป็นกระดาษจะพุ่งออกไปทางลำกล้องของกระบอกเพราะแรงอัดของอากาศหากลูกกระสุนถูกตัวในระยะที่ยิงใส่กันจะไม่ค่อยเจ็บเหมือนลูก     กระสุนอื่นๆ ---> ได้มีการนำไปประยุกต์ ทำเป็นปืนอัดลม โดยทำรูปร่างเหมือนปืน ใช้แรงอัดลมให้ระเบิด ส่วนกระสุนปืนจะใช้ไม้โสน หรือจุกขวดต่างๆที่ทำด้วยไม้ หรือในปัจจุบันนี้ได้มีการใช้ลูกปัดมาเป็นกระสุน

 

2. กำหมุน หรือที่เรียกว่า คอปเตอร์ไม้ไผ่ ---> การดึงเชือกทำให้ใบพัดหมุน ในลักษณะเดียวกันกับล้อและเพลา โดยเราออกแรงที่ก้านไม้ซึ่งทำหน้าที่เป็นเพลาหลังและจากปล่อยเชือกแล้ว ใบพัดก็ยังคงหมุนต่อไป เพราะ ความเฉื่อย ---> แบบเดียวกับการถีบจักรยาน แม้หยุดถีบล้อก็ยังคงหมุนสักพักด้วยความเฉื่อย การหมุนของใบพัดจะม้วนเชือกกลับเข้าไปเก็บรอบก้านไม้ ทำให้เราสามารถดึงเชือกให้ใบพัดหมุนต่อไปได้ทันที โดยจะมีการหมุนที่สลับทิศไปมา


 

3. ลูกหวือหรือลูกหึ่ง ---> ใช้หลักการเดียวกันกับ กำหมุนหรือคอปเตอร์ไม้ไผ่ คือ หลักการของ ความเฉื่อย
 
นางสาวศิริลักษณ์  ดำทอง
รหัสนักศึกษา 5681107022



No comments:

Post a Comment