ว่าวกระดาษ
องค์ประกอบของว่าวที่จะลอยอยู่ในอากาศได้คือ
1. กระแสลมที่เคลื่อนที่ไปในแนวขนานกับผิวโลกทางใดทางหนึ่ง อย่างสม่ำเสมอ2. พื้นที่ให้กำลังยกหรือแรงยกได้แก่พื้นที่ของตัวว่าว
3. อุปกรณ์บังคับได้แก่เชือกหรือด้ายรั้งว่าวและสายซุงซึ่งทำหน้าที่ปรับมุมปะทะของอากาศกับ พื้นที่ของตัวว่าว ทำให้เกิดแรงยกและแรงดัน แรงที่กระทำกับตัวว่าวมี 4 แรง คือ 1. แรงขับ คือ แรงที่คนดึงสายว่าวสวนทางกับแรงลม (ทำหน้าที่คล้ายกับแรงขับของเครื่อง ยนต์อากาศยาน) 2. แรงต้าน คือ แรงที่มีทิศทางเดียวกันกับกระแสลม 3. แรงยก คือ แรงที่ทำให้ว่าวลอยขึ้นไปในอากาศได้ ซึ่งจะมีแรงนี้ด้านบนของว่าว(หลังว่าว) 4. แรงน้ำหนักถ่วง คือ แรงที่อยู่ด้านล่างของว่าว ซึ่งเกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก ในขณะที่ว่าวเคลื่อนที่สวนทางลม และตัวว่าวทำมุมเงย ทำให้เกิดมุมปะทะกับพื้นที่ตัวว่าว ทำให้อากาศด้านบน (หลังว่าว) ไหลเร็วกว่าด้านล่างว่าว ความกดดันอากาศจึงลดลง ทำให้เกิด แรงยกขึ้น ในขณะเดียวกัน ลมด้านล่าง (ใต้ว่าว) เคลื่อนที่ช้ากว่า ทำให้เกิดความกดดันสูง จึงพยายามปรับตัวให้มีความดันเท่ากับด้านบน จึงดันว่าวให้ลอยขึ้นด้านบน ว่าวจะขึ้นได้จะต้องมีแรงถ่วง (น้ำหนักของว่าว) น้อยกว่าแรงยก และแรงขับ(ลม) ต้องมีความ เร็วมากพอที่จะชนะแรงต้าน ซึ่งมีทิศทางเดียวกับกระแสลมการทำว่าว ถือว่าเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เพราะต้องรู้จักคัดเลือกสรรหาวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการทำ เช่น ไม้ต้องตรง มีน้ำหนักเบา มีความเหนียวทนทาน วัสดุประกอบอื่น ๆ เช่น กระดาษพลาสติก ผ้า และเชือก หรือด้าย ต้องใช้ให้ เหมาะสม การทำอุปกรณ์ต่างๆ ต้องละเอียดประณีตมีเทคนิคเฉพาะตัว สัดส่วนของโครงว่าวแต่ละ ชนิดมีกำหนดเฉพาะ ต้องมีทักษะในการทำ การเล่น ต้องรู้จักภาวะของสภาพพื้นที่ภูมิอากาศและ กาลเวลา |
No comments:
Post a Comment